ขั้นตอนการทำวิจัย 10 ขั้นตอน ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าทุกขั้นตอนในการทำวิจัยเปรียบเหมือนบันได โดยเฉพาะบันไดขั้นแรกที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างมาก เพราะทุกขั้นตอนจะไม่สามารถแยกออกจากกันได้เด็ดขาด ทุกขั้นตอนมีความสำคัญทำงานสอดประสานกันอย่างถูกต้อง มีที่มาที่ไปสืบเนื่องต่อกันไปจนสิ้นสุดกระบวนการ หากมีข้อมูลใดแปลกปลอมไม่ถูกต้องเข้ามาก็จะทำให้ขั้นตอนต่อไปผิดทั้งหมด ดังนั้น การทำวิจัยจะต้องให้ความสำคัญขั้นตอนการทำวิจัยหลัก ๆ 10 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญที่สุด งานวิจัยจะออกมาอย่างไรขึ้นอยู่กับการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัย ซึ่งผู้ทำวิจัยต้องศึกษาวิเคราะห์ วิจารณ์ให้ละเอียดถี่ถ้วน จึงจะเกิดประโยชน์ การศึกษาเชิงวิเคราะห์วิจารณ์แตกต่างกับการศึกษา เพื่อเอาใจความธรรมดา อีกทั้งยังต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก ฉะนั้นจึงผู้ทำวิจัยมีความจำเป็นต้องฝึกฝนให้เกิดทักษะในการศึกษาเชิงวิเคราะห์วิจารณ์ การศึกษาเชิงวิเคราะห์วิจารณ์ เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ได้เนื้อความจริง ๆ ทุกขั้นตอน มิใช่ศึกษาเพียงเพื่อรู้ผลจากวรรณกรรมและการทำงานวิจัยเท่านั้น แต่ต้องวิเคราะห์ที่มาที่ไป รายละเอียดทุกขั้นตอนของเรื่องที่ศึกษา จึงต้องใช้เวลาค่อนข้างมากในการศึกษาเชิงวิเคราะห์ ทบทวน กลับไปกลับมาหลายครั้ง เพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องที่กำลังศึกษา โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นเนื้อเรื่องซึ่งมีผู้เรียบเรียงเขียนไว้หลายคน ผู้ศึกษายิ่งต้องพยายามศึกษา – คิด-วิเคราะห์ข้อเขียนของผู้เรียบเรียงแต่ละคนนับเป็นขั้นตอนแรกของการศึกษาทบทวน จากนั้นจึงนำสรุปผลที่ได้จากการศึกษา – คิด- วิเคราะห์เหล่านั้น มาวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อหาข้อสรุปให้ กับเรื่องเหล่านั้นด้วยตัวผู้ศึกษาเอง จากการกระทำดังกล่าวผู้ศึกษาก็จะได้เรียนรู้จากผลที่ได้จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบ จากประเด็นที่ยิ่งที่ผู้ทำวิจัยต้องศึกษา ทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการทำงานวิจัย เพราะการศึกษาทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่ดี จะช่วยให้ผู้ศึกษาได้แนวคิดครบทุกขั้นตอนของการทำวิจัย เ
ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดปัญหาหรือคำถามของการทำงานวิจัย การกำหนดปัญหาหรือคำถามของการทำงานวิจัยเป็นผลมาจากการศึกษาทบทวนวิเคราะห์วรรณกรรมและงานวิจัยที่ดี ก็จะเกิดคำถามหรือปัญหา เพื่อนำมาสู่ การวางแผนค้นหาคำตอบอย่างมีระบบ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การวางแผนทำวิจัยนั่นเอง ปัญหาการทำงานวิจัยหรือคำถามการทำงานวิจัยคืออะไร ผู้ทำวิจัยจะต้องชัดเจนว่า เรื่องที่กำลังสนใจอยู่มีปัญหาหรือไม่ และถ้ามี ปัญหานั้นคืออะไร เป็นปัญหาที่สามารถหาคำตอบได้ โดยไม่ต้องใช้กระบวนการทางการทำงานวิจัยหรือไม่ ถ้าเป็นคำถามที่สามารถตอบได้ก็ไม่จำเป็นต้องทำวิจัย การพิจารณาว่าเรื่องที่กำลังสนใจเป็นปัญหาหรือไม่นั้น มีวิธีการพิจารณาได้หลายวิธี วิธีหนึ่งคือ พิจารณาจากการเพิ่มขึ้นของแนวโน้มของปัญหา ขนาดของปัญหา และความรุนแรงของปัญหา หรือผลกระทบที่เกิดจากปัญหาเหล่านั้น ทั้งด้านสุขภาพ และสังคม รวมไปถึงความทันสมัย เป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการในขณะนั้นหรือไม่ ด้วยเหตุนี้การศึกษาเชิงวิเคราะห์จึงมีความสำคัญยิ่ง
ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดวัตถุประสงค์ ผลจากความชัดเจนของปัญหาการทำงานวิจัยเป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยให้ผู้ทำวิจัยสามารถนำมาใช้กำหนดวัตถุประสงค์ของการทำงานวิจัยได้ชัดเจน สอดคล้อง ตรงกับสิ่งที่ต้องการหาตอบ หรือที่ยังเป็นปัญหา การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ดีจะต้องเป็นวัตถุประสงค์ที่สามารถวัดได้ ชัดเจน ถูกต้อง ตรงประเด็นกับเรื่องที่ต้องการหาคำตอบ วัตถุประสงค์การทำงานวิจัยเปรียบเสมือนเข็มทิศที่บอกทิศทางของการทำงานวิจัยว่าจะดำเนินไปในลักษณะใด วัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในการทำงานวิจัยเป็นหัวใจสำคัญ เพราะจะต้องเชื่อมโยงระหว่างผลที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยในอดีตกับงานวิจัยเรื่องใหม่ที่กำลังจะทำหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า วัตถุประสงค์เป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างผลลัพธ์ต่าง ๆ ที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยไปสู่มิติของการค้นคว้าศึกษาวิจัยเรื่องใหม่ว่าสิ่งที่ต้องการค้นหาคำตอบคืออะไร
ขั้นตอนที่ 4 กรอบแนวคิดในการทำงานวิจัย เป็นแผนภูมิที่แสดงแนวคิดของทิศทางในการทำงานวิจัย แสดงความสัมพันธ์เชิงเหตุ ผลระหว่างตัวแปรที่ ศึกษา ซึ่งได้มาจากการกำหนดวัตถุประสงค์ และการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นแผนภูมิกรอบแนวความคิดในการทำงานวิจัยที่จะต้องสื่อและขยายความให้ชัดเจน เพื่อเชื่อมโยงความคิดต่อเนื่องจากวัตถุประสงค์ของการทำงานวิจัย กรอบแนวคิดในการทำงานวิจัยที่ดีจะต้องเป็นแผนภูมิที่ศึกษาแล้วสามารถอธิบายผู้ศึกษาได้ถึงความเกี่ยวพันซึ่งกันและกันในเชิงเหตุและผลระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษา.ได้ ต้องมีความชัดเจนและเป็นตัวแทนจากการสรุปสาระสำคัญของแนวคิดในการทำงานวิจัยทั้งหมด ที่ผู้ทำวิจัยสามารถใช้เป็นทั้งสื่อและสาร สำหรับสรุปและนำเสนอให้ผู้ศึกษาสามารถเข้าใจได้อย่างง่ายดายในระยะเวลาอันสั้น
ขั้นตอนที่ 5 ระเบียบวิธีการทำงานวิจัย ต้องกำหนดให้เหมาะสมกับปัญหาของการทำงานวิจัย และวัตถุประสงค์ของการทำงานวิจัย ประกอบด้วยการวางรูปแบบของการทำงานวิจัย ประชากร กลุ่มตัวอย่าง ขนาดตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานวิจัย การทดสอบเครื่องมือ และการใช้สถิติเพื่อพิสูจน์เรื่องที่ต้องการหาคำตอบ ในทุกขั้นตอนของระเบียบวิธีวิจัยจะต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องกันตลอด และเชื่อมโยงไปถึงลักษณะของการเขียนกรอบแนวคิดในการทำวิจัยด้วย
ขั้นตอนที่ 6 การวิเคราะห์ผลที่ได้จากการทำงานวิจัย ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการประมวลผลที่ได้จากข้อมูลในแบบวัดทั้งหมด มานำเสนอผลในรูปแบบของตารางประกอบคำบรรยาย หรือการบรรยายเพียงอย่างเดียว ซึ่งผู้ทำวิจัยจะต้องใช้ความรู้ทางด้านระบาดวิทยา และสถิติ มาเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์นำเสนอผล การนำเสนอข้อมูลในตารางแต่ละตารางจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนว่า ต้องการเสนอผลหรือต้องการแสดงอะไร การศึกษาค่าตัวเลขในตา รางควรศึกษาเชิงวิเคราะห์ดีกว่าการศึกษาไปตามค่าตัวเลขที่ปรากฏในตาราง เพราะการศึกษาผลเชิงวิเคราะห์เป็นการช่วยให้ผู้ทำวิจัยสามารถสรุปผลที่ได้จากการทำงานวิจัยตั้งแต่เริ่มแรก เป็นการกระตุ้นให้ผู้ทำวิจัยรู้จักคิดเชิงวิเคราะห์สรุปไปตามลำดับในทุกขั้นตอนของการรายงานผลการทำงานวิจัย เป็นกระบวนการฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ที่มีประโยชน์ซึ่งเป็นขบวนการเรียนรู้ที่สำคัญ ที่จะนำไปสู่การอภิปรายผล หรือการวิจารณ์ผลที่ดี
ขั้นตอนที่ 7 การอภิปรายผลที่ได้จากการทำงานวิจัย เป็นการเปรียบเทียบผลที่ได้จากการทำงานวิจัยที่ผู้ทำวิจัยค้นพบกับผลจากการทำงานวิจัยในอดีต หรือจากทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้ทำวิจัยจะต้องระมัดระวังให้ดี อย่าวิจารณ์ให้เกินจริง ต้องคำนึงถึงความเหมือนและความแตกต่างกันของแนวคิดในการทำวิจัยแต่ละเรื่อง ไม่ควรที่จะนำเอาเรื่องที่แตกต่างกันมาเปรียบเทียบกัน โดยขาดการคิดพิจารณาอย่างรอบคอบ ทักษะขั้นตอนนี้สำคัญยิ่งเป็นขั้นตอนที่แสดงถึงกระบวนการ หรือองค์ความคิดของผู้ทำวิจัยว่า มีความรู้ชัดเจนจากการทบทวนวรรณกรรม และงานวิจัยมาพอเพียงหรือไม่ การวิจารณ์ที่ดีต้องยึดหลักเที่ยงตรง ถูกต้อง ไม่เอนเอียง นอกจากการวิจารณ์ผลที่ได้จากการทำงานวิจัยแล้ว การวิจารณ์ระเบียบวิธีวิจัยก็เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ทำวิจัยจะละเลยไม่ได้ ในขั้นตอนนี้จะไม่ยุ่งยากถ้าหากผู้ทำวิจัยได้ฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์มาตั้งแต่เริ่มขั้นตอนแรกของการทำวิจัยจนกระทั่งถึงขั้นตอนที่ 6 เพราะทุกขั้นตอนของ การทำวิจัยที่กล่าวมาทั้ง 6 ขั้นตอน ล้วนเป็นเส้นทางหรือพื้นฐานเบื้องต้นที่ช่วยพัฒนาและฝึกฝนให้ผู้ทำวิจัยมีทักษะในการคิดวิเคราะห์
ขั้นตอนที่ 8 การเสนอแนะผลที่ได้จากการทำวิจัย ข้อสำคัญที่สุดที่ผู้ทำวิจัยต้องตระหนักไว้เสมอคือ เสนอแนะให้ตรงกับผลที่ได้จากการทำงานวิจัย ตรงไปตรงมา และเป็นองค์ความคิดที่เกิดฐานข้อมูลที่ได้จากผลการทำงานวิจัยด้วยตัวผู้ทำวิจัยเอง ต้องพิจารณาให้รอบคอบ ถี่ถ้วน ว่าผลการทำงานวิจัยที่ได้นั้นมีประโยชน์อะไรบ้าง อ้างอิงจากผลการศึกษาวิจัย ที่ผู้ทำวิจัยค้นพบโดยตรง ไม่ใช่ไปอ้างอิงถึงผลจากการศึกษาของผู้อื่น หรือเนื้อหาที่มีอยู่แล้วในอดีต ในขั้นตอนนี้ต้องคำนึงถึงระเบียบวิธีวิจัยด้วย ว่ามีข้อจำกัดในการที่จะนำผลที่ได้จากการทำงานวิจัยไปใช้หรือไม่ในประเด็นใดบ้าง ต้องเสนอแนะให้อยู่ในกรอบของความเป็นจริงจากฐานข้อมูลของผลการศึกษา ซึ่งบางครั้งมีข้อจำกัดบางประการของการทำวิจัย ที่ทำให้ไม่สามารถนำผลการทำงานวิจัยที่ได้ไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้าง
ขั้นตอนที่ 9 การเขียนเอกสารอ้างอิง ต้องเขียนให้ถูกต้อง มีระบบการเขียนอยู่หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของหลักสูตร และบรรณาธิการ ผู้ทำวิจัยต้องศึกษาให้ชัดเจนก่อนจะเริ่มลงมือเขียน มิฉะนั้นจะก่อความยุ่งยากและเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์
ขั้นตอนที่ 10 การเผยแพร่ผลการทำงานวิจัย การทำวิจัยต้องลงทุนมากทั้งด้านเวลาและงบประมาณ ซึ่งการทำงานวิจัยจะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ถ้าผลการทำงานวิจัยไม่ได้เผยแพร่ ฉะนั้นขั้นตอนที่ 10 ถือว่าเป็นภาระหน้าที่ ซึ่งผู้ทำวิจัยจะต้องนำผลการทำวิจัยไปเผยแพร่ การเผยแพร่อาจทำได้โดยการเสนอผลการทำงานวิจัยในการประชุมวิชาการ การเสนอในบอร์ดนิทรรศการและการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ซึ่งผู้ทำวิจัยจะต้องศึกษาอีกว่าในการเผยแพร่ผ่านสื่อแต่ละอย่างนั้นมีรูปแบบ ลักษณะ วิธีการ อย่างไร ก่อนที่จะเตรียมการเผยแพร่ สรุปการวางแผนกำหนดแนวทางในการทำวิจัย ผู้ที่ต้องการทำวิจัย ควรวางแผนและกำหนดแนวทางในการทำการทำงานวิจัย โดยพิจารณาจากรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนทั้ง 10 ขั้นตอนของการทำวิจัย นำมาวิเคราะห์และกำหนดระยะเวลาให้เหมาะสมกับภาระงานในแต่ละขั้นตอน ตามเวลาและงบประมาณที่มีอยู่ จากนั้นก็ลงมือปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้ การที่ผู้ทำวิจัยกำหนดตารางเวลาไว้เป็นการกระตุ้นเตือนให้ผู้ทำวิจัยพยายามเดินตามแผนการที่กำหนดไว้ ช่วยให้การทำวิจัยเสร็จได้ทันเวลา

THESIS DD ที่ปรึกษาทำวิทยานิพนธ์ ทำดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ปริญญาโท ปริญญาเอก ทุกมหาวิทยาลัย ในหลากหลายสาขาวิชา โดยทีมงานปริญญาเอก