แบบสอบถาม

ความน่าเชื่อถือของแบบสอบถาม

การออกแบบหรือสร้างแบบสอบถามขึ้นมา เพื่อเก็บข้อมูลเชิงปริมาณในเรื่องที่ต้องการหาคำตอบ หรือต้องการรู้ด้วยข้อคำถามเป็นชุด ๆ จำนวนหนึ่ง เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดเกี่ยวกับความรู้สึก ทัศนคติ เจนคติ ความคิดเห็น ความเชื่อ พฤติกรรม ความสนใจ คุณลักษณะ ลักษณะประชากร เป็นต้น ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยให้ตัวแทนประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ตอบข้อมูล เพื่อใช้ศึกษาหาข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยทุกข้อคำถามจะต้องยึดหลักการตามแนวคิดทฤษฎีตรงตามประเด็นที่ ดังนั้น การสร้างแบบสอบถามที่ดีจะต้องหาค่าความตรง (Validity) ของเครื่องมือที่เป็นแบบสอบถาม เพื่อให้สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้ตามที่ต้องการ หรือตรงวัตถุประสงค์แต่มิใช่ต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างหนึ่งแล้วได้สิ่งอื่นมาแทน ซึ่งในงานวิจัยที่ใช้แบบสอบถามถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้น มีวิธีการหาค่าความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) จะสามารถดำเนินการได้โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านหรือในสาขานั้น ๆ เป็นผู้พิจารณาว่าเครื่องมือหรือแบบสอบถามนั้น มีความสอดคล้องกับโครงสร้างตรงกับประเด็นที่ต้องการจะประเมินหรือไม่ และจะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญขั้นต่ำอย่างน้อยจำนวน 3 คน และนำคะแนนจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญไปทำการคำนวณ เพื่อหาค่าดัชนีของความสอดคล้อง (Index of Item-Objec-tive Congruence : IOC) ซึ่งจะได้ค่าที่เป็นตัวชี้วัดโดยมีเกณฑ์ข้อคําถามที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.8 ขึ้นไปจะอยู่ในระดับดีแต่หากตํ่ากว่า 0.5 ต้องควรมีการปรับปรุงแก้ไขหรือตัดข้อคำถามนั้นทิ้ง

employee, desk, stress-6038877.jpg

ค่าความตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity) เป็นความเที่ยงตรงตามทฤษฎีหรือแนวคิดของเรื่องนั้น ๆ และเขียนไว้ในรูปของสมมติฐานเพื่อให้สามารถอธิบายค้นหาและพิสูจน์ข้อเท็จจริงมาสนับสนุนได้ ส่วนการคำนวณหาค่าความตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity) ของเครื่องมือวิจัยแบบสอบถามที่มีความตรงเชิงโครงสร้าง จะแสดงผลที่ได้จากการวัดที่มีความสัมพันธ์กับทฤษฎี ซึ่งการวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างต้องใช้สถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) ประเภทการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) ด้วยโปรแกรมทางสถิติ LISREL หรือ AMOS ซึ่งเกณฑ์ที่ยอมรับได้ โดยพิจารณาจากค่า Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) ต้องมีค่าน้อยกว่า 0.05 และค่าความเชื่อถือ/ความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม ซึ่งเป็นการวัดด้วยวิธีเดียวกันหลาย ๆ ครั้ง แล้ว นำผลการวัดมาหาความสัมพันธ์กันของความเชื่อถือ ซึ่งค่าของความสัมพันธ์ของการวัด คือ ค่าบ่งชี้อัตราความเชื่อถือได้ โดยวิธีหาค่าความเชื่อถือได้ของมาตรวัดของเครื่องมือหรือแบบสอบถาม ด้วยวิธีการทดสอบแล้วทดสอบซ้ำ (Test and retest method) ด้วยการหาความคงเส้นคงวาของคะแนนจากการวัดในช่วงเวลาที่ต่างกัน โดยวิธีสอบซ้ำด้วยแบบทดสอบเดิม การหาค่าความเชื่อมั่น : การทดสอบซ้ำใช้การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่วัดได้จากคนกลุ่มเดียวกัน ด้วยเครื่องมือเดียวกัน โดยทำการวัดสองครั้งในเวลาที่ต่างกัน โดยใช้มาตรวัดเดียวกันกับคนกลุ่มเดียวกันในเวลาต่างกัน และดูความสัมพันธ์ระหว่างผลการวัดทั้ง 2 ครั้ง หากถ้ามีความสัมพันธ์สูง แสดงว่า มีความเชื่อมั่นสูง

วิธีหาค่าความเชื่อถือได้ของมาตรวัดของเครื่องมือหรือแบบสอบถาม ด้วยวิธีวัดแบบที่ทดสอบแทนกันได้ (Alternate forms method) เป็นการทดสอบแบบใช้ข้อสอบเหมือนกัน Equivalent-Forms Reliability ความสอดคล้องกันของคะแนนจากการวัดในช่วงเวลาเดียวกันโดยใช้แบบทดสอบที่สมมูลกัน การหาค่าความเชื่อมั่น : การทดสอบแบบใช้ข้อสอบเหมือนกันใช้การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่วัดได้จากคนกลุ่มเดียวกันด้วยเครื่องมือ 2 ฉบับที่ทัดเทียมกัน ต้องมีมาตรวัดคู่ขนานกัน 2 ชุด (parallel form) และนำไปวัดคนกลุ่มเดียวกัน โดยดูความสัมพันธ์ของผลการวัดทั้ง 2 มาตรวัด และวิธีหาค่าความเชื่อถือได้ของมาตรวัดของเครื่องมือหรือแบบสอบถามด้วยวิธี Split–halves method เป็นการทดสอบแบบการทดสอบแบบแบ่งครึ่ง (Split-Half Reliability ) เป็นการหาความเชื่อมั่นโดยการหาความคงที่ ภายในโดยใช้แบบทดสอบชุดเดียวและสอบครั้งเดียว แต่แบ่งข้อสอบเป็น 2 ส่วน คือ ข้อคู่ และข้อคี่ การหาค่าความเชื่อมั่น: การทดสอบแบบแบ่งครึ่ง ใช้การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ระหว่างคะแนนที่วัดได้จากการแบ่งครึ่งข้อสอบที่สมมูลกันโดยใช้สูตร Spearman Brown เป็นการวัดครั้งเดียว โดยแบ่งเครื่องมือเป็น 2 ส่วน คือส่วนบน/ส่วนล่าง เป็นข้อคู่/ข้อคี่ และนำผลการวัดทั้งสองส่วนมาหาความสัมพันธ์กันของความยาวของมาตรวัดหรือแบบสอบถามมีผลต่อความเชื่อถืออ

รวมถึงวิธีหาค่าความเชื่อถือได้ของมาตรวัดของเครื่องมือหรือแบบสอบถาม ด้วยการวัดความสอดคล้องภายในซึ่งวัดเพียงครั้งเดียว วิเคราะห์ค่า “ความสอดคล้องภายใน ” (ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อถือได้) แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือวิธี Kuder-Richardson (Zero/one Method) เป็นการทดสอบโดยการหาความคงที่ภายใน Kuder-Richardson Reliability เป็นการหาความเชื่อมั่นโดยการทดสอบว่าแบบสอบถามแต่ละข้อ มีความสัมพันธ์กับข้ออื่น ๆ ในฉบับเดียวกันหรือไม่ การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม: การคำนวณค่าสถิติของคะแนนรายข้อหากมาตรวัดทำถูกได้ 1  ทำผิดได้ 0 และคะแนนรวมใช้สูตร Kuder-Richardson KR–20/KR–21 และวิธี Cronbach’s Alpha (Coefficient Alpha) เป็นการทดสอบโดยวิธี Alpha Coefficient Reliability เป็นการหาความเชื่อมั่นโดยการทดสอบว่า แบบสอบถามแต่ละข้อมีความสัมพันธ์กับข้ออื่น ๆ ในฉบับเดียวกันหรือไม่ (คะแนนตั้งแต่ 0-…) การหาค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามทั้งฉบับ การคำนวณค่าสถิติของคะแนนรวมทั้งฉบับโดยใช้สูตรคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ใช้หาความเชื่อมั่น Essay question หรือการให้คะแนนเป็น Scale Validity / Reliability ในการวัดสิ่งสำคัญที่สุดคือ Validity/ความตรง มาตรวัดที่มีความตรงจะต้องมีความเชื่อถือได้ แต่ มาตรวัดที่มีความเชื่อถือได้อาจไม่มีความตรง ซึ่งค่าความเชื่อถือได้ (r) อยู่ระหว่าง -1 ถึง +1 และความเชื่อถือมากขึ้นเมื่อค่าเข้าใกล้ 1 มากที่สุด

การใช้แบบสอบถามเก็บเครื่องมือหรือแบบสอบถาม ควรตรวจสอบคุณภาพโดยหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) และความตรง (Validity) เพราะหากนักศึกษานำแบบสอบถามไปใช้เก็บข้อมูลเพื่อการวิจัย จะทำให้ผลการศึกษาทั้งหมดผิดหรือไม่น่าเชื่อถือเพราะข้อมูลที่ได้มาขาดคุณภาพ ไม่เกิดประโยชน์ต่อตัวท่านเองและสังคมอีกทั้งอาจต้องทำใหม่หรือเรียนไม่จบ หรือหากองค์กรธุรกิจนำแบบสอบถาม ไปใช้เก็บข้อมูลเพื่อนำข้อมูลมาใช้วางแผนกลยุทธ์กำหนดเป้าหมายด้านต่าง ๆ หรือองค์กรอื่น ๆ ก็จะได้ผลลัพธ์เช่นเดียวกันคือผลการดำเนินงานต่าง ๆ ไม่สำเร็จตามเป้าหมาย อันเป็นผลมาจากการนำผลการศึกษาวิจัยที่รวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือหรือแบบสอบถาม ที่ไม่ได้ตรวจสอบเครื่องมือหรือแบบสอบถามมาใช้ นอกจากนี้ THESIS DD บริการงานวิจัย IS “ครบวงจร” ยังให้คำแนะการเตรียมตัวอย่างถูกต้อง และเทคนิคการหาข้อมูลด้านเอกสาร อาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการสอบในเรื่องใดบ้าง อย่างไรบ้าง เพื่อนำข้อมูลต่างๆ มาประยุกต์ใช้และช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นทำให้ต้องแก้ไขงานวิจัย IS ทั้งเล่ม หรือส่งผลให้สอบไม่ผ่าน ดังนั้น THESIS DD บริการงานวิจัย IS “ครบวงจร” จะให้คำแนะนำที่หาจากที่ไหนไม่ได้อย่างแน่นอนอย่างแน่นอน

THESIS DD บริการงานวิจัย IS “ครบวงจร” บริการงานวิจัย IS “ครบวงจร” โดยอาจารย์ ดร.หลากหลายสาขาพร้อมให้คำแนะนำ ดังนั้น หากท่านต้องการความช่วยเหลือหรือการสนับสนุนในการทำงานวิจัย IS THESIS DD บริการงานวิจัย IS “ครบวงจร” คือคำตอบที่ดีที่สุด และมั่นใจได้ว่าเราจะพาคุณไปยังเป้าหมายอย่างมีคุณภาพ ฝากคิด “ถ้าเรียนปริญญา เอก/โท มันง่ายขนานนั้น ใคร ๆ ก็คงเป็น ดร. กันหมดแล้ว” จริงไหม?

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *