success, strategy, business-2081168.jpg

มาตรฐานการทำวิจัย

งานวิจัย” เป็นการให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมและการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติที่ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยได้จริง ช่วยปรับใช้สำหรับการทำวิจัยให้มีคุณภาพ และสำเร็จได้เร็วขึ้นตลอดทั้งกระบวนการทำวิจัย ซึ่งการวิจัยเป็นคำที่คุ้นเคยและเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายทุกวงการ ทั้งนักวิชาการ ทั้งนี้เนื่องจากการวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการแก้ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์และพัฒนาวิชาการให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในทุกกระบวนการวิจัยทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่ “หัวข้อ” เป็นสิ่งแรกที่ทำให้ผู้อ่านเกิดความสนใจในงานวิจัย จะต้องมีความกระชับและชัดเจน สามารถอธิบายถึงปัญหาและสิ่งที่จะส่งผลต่องานวิจัยได้ การวิเคราะห์กำหนดโจทย์/คำถามวิจัยจากสิ่งที่สนใจทำการศึกษาและควรเป็นเรื่องที่อยู่ในสถานการณ์ปัญหาหรือได้รับผลกระทบอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยขยายความรู้ความเข้าใจ ในปรากฏการณ์ต่าง ๆ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นทำให้มนุษย์สามารถเอาชนะธรรมชาติได้อย่างมีหลักเกณฑ์และมีเหตุผล การเรียนรู้งานวิจัยก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม

การรวบรวมข้อมูลในกระบวนการเชิงระบบจะทำให้สามารถทำการกำหนดเนื้อหา ขอบเขตหรือขอบข่ายของการทำวิจัยนั้นๆ ให้มีความชัดเจน และง่ายยิ่งขึ้น เพราะการทำวิจัยจำเป็นจะต้องทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ศึกษาค้นคว้าแนวคิด ทฤษฎีจากงานวิจัยเกี่ยวข้อง เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดศึกษาจากงานวิจัยที่มีผู้วิจัยศึกษาค้นคว้าสำเร็จแล้ว วิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สามารถนำมาพัฒนาประยุกต์ต่อยอดงานวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีแหล่งที่มาในการตรวจสอบที่ชัดเจน มีการกำหนดตัวแปรที่นำมาใช้ได้จริง “การตั้งสมมติฐาน” เป็นการคาดคะเนคำตอบที่ใช้สำหรับตอบคำถามของปัญหางานวิจัยเป็นเข็มทิศนำทางว่างานวิจัยจะเป็นไปในทิศทางใด อย่างถูกต้องตามหลักการและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ศึกษาว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้นั้นมีความสอดคล้องและสมเหตุสมผลถูกต้องหรือไม่ จากแหล่งที่มาของข้อมูลงานวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างสมเหตุผล จากแหล่งอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือ จะต้องเป็นแหล่งข้อมูลที่ชัดเจน มีความสอดคล้องกับเนื้อหางานวิจัย นำไปสู่การออกแบบการวิจัย และการวางแผนปฏิบัติการวิจัยด้วยสร้างเครื่องมือที่จะใช้ในการทำวิจัย

การจัดเตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลงานวิจัย จะพิจารณาจากรูปแบบของการทำวิจัย และความต้องการประเภทของข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยเป็นสำคัญ โดยผู้วิจัยจะทำการกำหนดและเลือกเครื่องมือให้เหมาะสมกับงานวิจัยให้ได้มากที่สุด สามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์ ได้แก่ การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งผลระยะยาว เพื่อแสวงหาความจริงเกิดขึ้น การวิจัยบริสุทธิ์มุ่งเน้นที่จะแก้ปัญหาการทำจัยใหญ่ จึงใช้เวลาในการทำวิจัยนาน แต่ผลของการวิจัยจะมีคุณค่ามากการวิจัยบริสุทธิ์ส่วนใหญ่จะเป็นการวิจัยที่เกี่ยวกับทางวิทยาศาสตร์การวิจัยทางฟิสิกส์ทางชีววิทยา หรือทางเคมี และการวิจัยประยุกต์ (Applied Research)เป็นการทำวิจัยที่มุ่งแก้ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์เฉพาะหน้า เพื่อนำผลของการวิจัยมาใช้ในสถานการณ์หนึ่ง บางครั้งเป็นการวิจัยที่ประยุกต์ทฤษฎีกับข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพื่อค้นหาความจริงในแต่ละสถานการณ์ ซึ่งก่อนนำไปใช้จริง ผู้วิจัยควรทำการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ว่ามีประสิทธิภาพและมีความเที่ยงตรงสำหรับใช้ในงานวิจัย โดยทดลองกับประชากรที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง (Pilot study) เพื่อหาข้อบกพร่องและปัญหา

ก่อนนำไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งเป็นขั้นตอนการลงมือปฏิบัติจริง โดยการใช้เครื่องมือที่ได้ทำการออกแบบและผ่านการทดสอบแล้ว นำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างจริงๆ ที่ได้กำหนดไว้ในงานวิจัยนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่าง นำมาทำการจัดประเภทข้อมูล จัดหมวดหมู่ของข้อมูล เพื่อสะดวกต่อการที่จะนำไปวิเคราะห์แปลผลข้อมูลและนำไปตรวจสอบสมมติฐาน ก่อนการเข้ากระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และทำการนำเสนอผลการวิเคราะห์ในรูปแบบของตารางและกราฟ เพื่อใช้ในการสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรายงานการวิจัย ซึ่งหากแบ่งตามระเบียบวิธีการวิจัย โดยอาศัยระเบียบแบบแผนของการวิจัยเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง ได้แก่ การทำวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Research) เป็นการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาข้อเท็จจริงในอดีต ซึ่งจะเป็นการทดสอบหรือ ตรวจสอบรายงาน หรือการบันทึกที่มีผู้สังเกตไว้แล้วในอดีตว่าถูกต้องหรือไม่ การวิจัยเชิงพรรณา (Descriptive Research) เป็นการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบรรยาย และค้นหาความจริงที่เกิดขึ้นในการวิจัย การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เป็นการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการทดลอง โดยมุ่งเน้นที่จะควบคุมลักษณะบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์หนึ่งไว้เพื่อดูผลว่าจะเป็นอย่างไร

การทำวิจัยนี้จะต้องมีการลองผิดลองถูก ซึ่งนักวิจัยจะต้องสร้างสถานการณ์จำลองขึ้นมา โดยส่วนใหญ่จะเป็นการวิจัยในเชิงวิทยาศาสตร์ ทางคลินิก และการวิจัยในห้องปฏิบัติการ และการแบ่งตามชื่อของการวิจัย คือ อาศัยชื่อเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเป็นหลัก ได้แก่ การวิจัยตลาด (Marketing Research) การวิจัยการศึกษา (Education Research) การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยทุกกระบวนการวิจัยต้องใช้ความรู้ในการแก้ปัญหาการทำวิจัย นักวิจัยควรจะมีการเลือกปัญหาการทำวิจัยที่ผู้วิจัยสนใจและผู้อื่นอยากทราบเพื่อเพิ่ม คุณค่าของงานวิจัย ปัญหาการทำวิจัยที่นักวิจัยเลือกมาต้องเป็นปัญหาการทำวิจัยใหม่ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน เหมาะสมที่จะทำการวิจัยข้อสำคัญปัญหาการทำวิจัยธ์นั้นต้องแน่ใจว่าอยู่ในความสามารถที่จะทำได้หลังจากเลือกปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ เพราะปัญหาการทำวิจัยจัยหากผลการวิจัยขาดความเที่ยงตรงจากการออกแบบเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลไม่ครอบคลุม ขาดความตรง และการสุ่มตัวอย่างไม่เป็นตัวแทนของประชากรเป้าหมาย

การใช้เหตุผลผิดต้องระมัดระวังการให้เหตุผลไม่ใช่เรื่องเดียวกัน เหตุอย่างหนึ่งผลอย่างหนึ่งจะใช้สนับสนุนกันไม่ได้ การทำวิจัยนั้นอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้หลายประการ จึงควรจะต้องระมัดระวังในข้อผิดพลาดต่างๆ ที่สำคัญอย่าตัดสินใจหรือด่วนสรุปผลการวิจัยนั้นเร็วเกินไป ทั้งที่ยังมีหลักฐานสนับสนุนไม่มากเพียงพอ โดยสร้างเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัย นักวิจัยจะต้องเตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัย ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) แบบสัมภาษณ์ (Interview) หรือแบบสังเกต (Observation) การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ดีพอ ข้อมูลที่ได้มาอาจจะไม่ใช่ข้อเท็จจริง ซึ่งจะทำให้ผลงานวิจัยที่ได้ไม่มีคุณภาพ มาวิเคราะห์ข้อมูล เป็นขั้นตอนที่จะต้องนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาทำการวิเคราะห์และแปลความหมาย ทดสอบสมมตฐาน หาความสมพันธ์ระหว่างตัวแปร การพยากรณ์อิทธิผลของตัวแปร สรุปผลและเขียนรายงาน เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการวิจัย

การสรุปผลจากการวิเคราะห์และตีความหมายข้อมูล เพื่อที่จะตอบปัญหาการทำวิจัยตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ตั้งไว้การเขียนรายงาน จะต้องเสนอข้อเท็จจริงที่ได้จากการวิจัย การสรุปผลไม่ควรละเลยการวิจัยที่ต่างไปจากทฤษฎี หรือสมมติฐานที่ตั้งขึ้นอาจถูกต้องหรือไม่ก็ได้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องไม่มากพอ โดยไม่นำข้อคิดเห็นส่วนตัว หรือทฤษฎีจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาประกอบผลการศึกษาคือการนำเฉพาะข้อมูลตัวเลข หรือผลการวิจัยที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลเท่านั้นเป็นสิ่งแสดงข้อเท็จจริง โดยให้ผู้อ่าน หรือผู้ที่มีความสนใจศึกษาข้อมูลต่อเป็นผู้พิจารณาเอง และการสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสอดแทรกความคิดเห็น คือการนำข้อเสนอแนะจากการอ้างอิงของทฤษฎี และผลการวิเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาประกอบเข้ากับผลของการวิเคราะห์ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ซึ่งสามารถช่วยให้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลของงานวิจัยนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

ก่อนสรุปจะต้องมีข้อมูล มีผลการทดลองที่แน่ใจ และตรวจสอบทุกขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว ละเลยผลการทำวิจัยที่แตกต่างออกไป เนื่องจากหาเอกสารไม่พบ ไม่ทราบวาจะไปหาที่ใด และต้องระมัดระวังการการลอกผิดของตัวเลขหรือข้อความคำศัพท์เฉพาะภาษาอังกฤษที่อยู่ในวงเล็บมักจะผิดพลาดเสมอ รวมถึงการทำจรรยาบรรณของนักวิจัย ซึ่งในขั้นตอนการเขียนรายงานการทำวิจัยและการจัดพิมพ์ เป็นการเรียบเรียงข้อมูลรายงานข้อเท็จจริงที่ค้นพบในการทำวิจัย เพื่อประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ผู้วิจัยจะต้องทำการเรียบเรียงเนื้อหาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ชัดเจน กระชับ และรัดกุม และข้อสรุปของผู้วิจัยพร้อมกับข้อเสนอแนะ สำหรับผู้จะทำการวิจัยครั้งต่อไป จากนั้นทำการตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบและเนื้อหาทั้งหมดอย่างละเอียดอีกครั้ง เป็นอันสำเร็จกระบวนการทำวิจัย ตามที่สำนักงานวิจัยแห่งชาติสภาวิจัยแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดทำแนวทางปฏิบัติ จรรยาบรรณนักวิจัย ขึ้น เพื่อให้ผู้ทำวิจัยได้พึงสังวรทางคุณธรรม ในการทำวิจัยเพื่อเป็นเกียรติของนักวิจัย ไปสู่การยอมรับระดับชาติและระดับนานาชาติ